แนะนำ

การถ่ายภาพนก ตอนที่ 3: เอาตัวรอดในการถ่ายภาพนกด้วยเคล็ดลับดี ๆ เหล่านี้

by Sudhir Shivaram

Article Categories

Body Category
Lens Category
Alpha 1 | FE 600mm F4 GM OSS | 1/4000 sec | F4.0 | ISO 1250

ในบทความสองตอนล่าสุดของเรากับ Sudhir Shivaram (@sudhirshivaram) เราได้พูดถึงวิธีที่เขาใช้ในการค้นหาสถานที่สำหรับถ่ายภาพนกและอุปกรณ์ที่เขาหอบหิ้วไปด้วย ในตอนสุดท้ายของบทความที่มีทั้งหมดสามตอนนี้ เราจะมาจับเข่าคุยกับ Sudhir เพื่อล้วงข้อมูลลับและเคล็ดลับพิเศษของเขาในการถ่ายภาพนก

Sudhir Shivaram มีด้านที่ 'สุดโต่ง' เมื่อเป็นเรื่องเกี่ยวกับการถ่ายภาพสัตว์ป่า ชื่อที่ได้รับความเคารพชื่นชมในการถ่ายภาพสัตว์ป่าของอินเดีย ผลงานการถ่ายภาพของเขาได้รับความรักและความนับถืออย่างล้นหลามในวงการ Sudhir ยังมีชื่อเสียงในฐานะบุคคลต้นแบบที่สร้างแรงบันดาลใจให้กับเหล่าช่างภาพรุ่นเยาว์อีกด้วย

Sudhir ในวัยเด็กนั้นมักชื่นชอบนกที่ได้เจอระหว่างการเดินป่าเสมอ การเข้าป่าทำให้เขามีโอกาสได้ถ่ายภาพธรรมชาติ และนั่นคือการจุดประกายทำให้ความรักที่เขามีต่อนกและการถ่ายภาพนกเริ่มเบ่งบาน หลังจากนั้น Sudhir ก็ออกตระเวนไปตามแหล่งน้ำที่อยู่ใกล้บ้านโดยหวังว่าจะได้เห็นนกแม้เพียงสักแว็บหนึ่ง

Alpha 1 | FE 600mm F4 GM OSS | 1/2000 sec | F4.0 | ISO 2000

เมื่อเวลาผ่านไป Sudhir ได้สร้างแฟ้มผลงานที่มีสไตล์เฉพาะตัวของเขาเอง ผู้คนจดจำภาพบุคคลและภาพถ่ายนกที่เต็มไปด้วยความสร้างสรรค์ของเขาได้ทันที การใช้เลนส์ที่มีความยาวโฟกัส 800+ มม. เพื่อถ่ายภาพนกยังทำให้ได้โบเก้และพื้นหลังแบบมัลติโทนที่สะอาดสะอ้าน ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นลักษณะการถ่ายภาพที่เป็นลายเซ็นของเขานั่นเอง ด้วยการรักษาความเรียบง่ายในการทำงานเช่นนี้ Sudhir หวังว่าการถ่ายภาพของเขาจะยังคงดูเป็นธรรมชาติและแสดงถึงสไตล์ของเขาอย่างชัดเจน

ในฐานะที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการถ่ายภาพนก Sudhir แนะนำรุ่นเยาว์ที่มีความสามารถโดดเด่นทั้งหลายให้ปฏิบัติตามหลักสำคัญ 4 ประการ "ประการแรก หัวใจสำคัญของการถ่ายภาพนกคือความเข้าใจในพฤติกรรมนกอย่างลึกซึ้ง เมื่อคุณคุ้นเคยกับพฤติกรรมของนก การคาดเดาการเคลื่อนที่ของมันจะง่ายขึ้นมากและคุณสามารถบอกจังหวะที่มันจะโผจับคอนได้อย่างง่ายดาย บ่อยครั้งที่คุณจะพบว่านกให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในการปรากฏตัว ซึ่งนี่จะทำให้ช่างภาพมีเวลาในการถ่ายภาพได้มากขึ้น" Sudhir กล่าว

"ประการที่สอง ช่างภาพต้องมีพื้นฐานที่ดี พวกเขาต้องเข้าใจถึงการตั้งค่ากล้องในแบบต่าง ๆ และเรียนรู้ศิลปะในการจัดวางองค์ประกอบที่จะทำให้ถ่ายภาพนกได้อย่างมีประสิทธิภาพ การจับภาพนกผ่านช่องมองภาพนั้นเป็นเรื่องที่ท้าทาย โดยเฉพาะกับนกที่ตัวเล็กจิ๋วและมีชีวิตชีวา ในการเอาชนะความท้าทายนี้ ผมใช้เทคนิคลืมตาทั้งสองข้าง โดยตาขวามองผ่านช่องมองภาพและตาซ้ายมองไปที่นก วิธีนี้จะทำให้ผมเห็นภาพในแบบซ้อนทับกัน ซึ่งผมสามารถจับคู่และทำให้นกอยู่ในโฟกัสได้ ผมใช้เทคนิคเดียวกันนี้กับการถ่ายภาพนกที่กำลังบินอยู่และมันก็ได้ผลดีมากเช่นกัน" Sudhir อธิบาย

Alpha 1 | FE 600mm F4 GM OSS | 1/6400 sec | F4.0 | ISO 1250

"ประการที่สาม คุณต้องรู้วิธีการใช้งานกล้องของคุณ และใช้ประโยชน์สูงสุดจากคุณสมบัติต่าง ๆ ของกล้องในการถ่ายภาพนก การมีเทคนิคในการถ่ายภาพยังรวมถึงการรู้จักอุปกรณ์เสริมของคุณด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นขาตั้งกล้อง หัวแบบต่าง ๆ การใช้ถุงถั่วและพ็อดสำหรับแพนกล้อง (panning pod) บางครั้งเทคนิคการถ่ายภาพแบบ handheld ก็สร้างคุณค่าให้ทั้งการถ่ายภาพสัตว์ป่าและนก" Sudhir บอก

ในฐานะของช่างภาพผู้มากประสบการณ์ วิธีการของ Sudhir จะแตกต่างไปจากช่างภาพรุ่นน้องอย่างชัดเจน "เมื่อถ่ายภาพ ผมจะมองช็อตที่จะถ่ายก่อนโดยอาศัยความเข้าใจที่ผมมีเกี่ยวกับพฤติกรรมนกและการตั้งค่ากล้อง บ่อยครั้งที่ผมจะนึกถึงภาพที่ผ่านการตกแต่งขั้นสุดท้ายแล้วในใจและปรับช่องมองภาพตามนั้น"

Alpha 1 | FE 600mm F4 GM OSS | 1/2000 sec | F4.0 | ISO 1600

หลักสำคัญประการสุดท้ายคือความเข้าใจที่แตกฉานในการตกแต่งภาพ "ผมพยายามจะนำเสนอภาพแบบเดียวกับที่ผมเห็นในป่า ไม่มากหรือน้อยไปกว่านั้น สำหรับผม ขั้นตอนการตกแต่งภาพในภายหลัง (post-processing) คือการแก้ไขภาพ และไม่ใช่การปรับแต่งภาพให้ออกมาเหมือนกับที่มองเห็นจริง (image manipulation) การปรับแต่งภาพให้ออกมาเหมือนกับที่มองเห็นจริงหรือ Image manipulation สำหรับผมมันน่าจะอยู่ในหมวดของงานศิลปะดิจิทัล แม้ว่าผมจะไม่ได้คัดค้านอะไรในประเด็นนี้ แต่ผมแนะนำให้ผู้เริ่มต้นหมั่นฝึกฝนการถ่ายภาพและรักษาความเป็นธรรมชาติของภาพถ่ายเอาไว้แทนที่จะปรับแต่งมัน ด้วยความที่ถ่ายภาพนกมามากจริง ๆ ผมจึงจับได้ทันทีที่เห็นภาพถ่ายนกที่ผ่านการปรับแต่งมาแล้ว และแย่หน่อยที่การกระทำแบบนั้นอาจทำให้ช่างภาพสูญเสียชื่อเสียงที่อุตส่าห์สั่งสมมาอย่างยากลำบากได้นะครับ มากสุดที่ผมจะทำกับภาพที่โพสต์คงเป็นการแก้ไขสีในแบบที่่เรียบง่ายที่สุด"

ด้วยมาตรฐานการถ่ายภาพที่เข้มงวดเช่นนี้ Sudhir จึงพบว่ากล้อง Alpha 7 IV โดดเด่นน่าสนใจกว่ากล้องตัวอื่น "ผมเคยใช้ Sony Alpha 1 และกล้องในตระกูล Alpha series มาแล้วครับ และพบว่ามันทำให้ผมใช้เวลาในการปรับแต่งภาพน้อยลง การแก้ไขสีที่เรียบง่าย และภาพต่อภาพในทุก ๆ ช็อตก็สวยอย่างน่าทึ่ง ไม่มีการถ่ายภาพนกที่จะดีไปกว่านี้อีกแล้ว เมื่อมีเทคนิคที่เหมาะสม ความรู้เกี่ยวกับนก และอุปกรณ์ ไม่ว่าใครก็สามารถเฉิดฉายในหมวดนี้ได้ทั้งนั้นครับ"

อย่าพลาดบทความก่อนหน้าของเราเกี่ยวกับตำแหน่งของนก และ อุปกรณ์ถ่ายภาพ!

Article Theme

เราต้องการขอการเข้าถึงตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ของคุณเพื่อมอบประสบการณ์ที่กำหนดเองให้กับคุณ โปรดทราบว่าคุณสามารถถอนความยินยอมของคุณได้ตลอดเวลาผ่านการตั้งค่าเบราว์เซอร์ของคุณ