วิธีจัดองค์ประกอบภาพวิดีโอท่องเที่ยวของคุณ

การตระหนักถึงสภาพแวดล้อมรอบวัตถุที่คุณถ่ายและรู้วิธีจัดวางเฟรมด้วยอุปกรณ์ประกอบฉากและสีพื้นหลังเท่าที่จำเป็นสามารถสร้างความแตกต่างให้กับวิดีโอท่องที่ยวของคุณได้”
การตระหนักถึงสภาพแวดล้อมรอบวัตถุที่คุณถ่ายและรู้วิธีจัดวางเฟรมด้วยอุปกรณ์ประกอบฉากและสีพื้นหลังเท่าที่จำเป็นสามารถสร้างความแตกต่างให้กับวิดีโอท่องที่ยวของคุณได้”
ผลิตภัณฑ์แ
ฑ์แนะนำ
สิ่งที่ต้องใช้
โดยส่วนใหญ่แล้ว ฉันไม่มีโอกาสกำหนดว่าจะถ่ายโทนสีอะไรในแต่ละสถานที่ท่องเที่ยวที่ฉันไป ทุกสถานที่ล้วนมีเสน่ห์และลักษณะสีที่เป็นเอกลักษณ์ แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าฉันไม่สามารถเลือกสิ่งที่ฉันต้องการนำเสนอในเฟรมวิดีโอ การใช้คทางยาวโฟกัสที่แตกต่างกันและการเคลื่อนที่ไปมาเพื่อค้นหามุมที่หลากหลายเพื่อจัดองค์ประกอบของภาพ เป็นเทคนิคส่วนหนึ่งที่ฉันใช้สร้างการเล่าเรื่องที่น่าดึงดูดใจ
นี่คือสิ่งที่ฉันคำนึงถึงเมื่อใช้สีและองค์ประกอบภาพในการเล่าเรื่องในวิดีโอของฉัน
1. การจัดวางเฟรมตามสี
สิ่งแรกที่ฉันทำก่อนกดปุ่มบันทึกคือการกำหนดองค์ประกอบหลักของฉาก สมมติว่าองค์ประกอบหลักของฉากนี้คือ ดอกซากุระสีชมพู ตอนที่ฉันจัดวางเฟรมของภาพ ฉันมีตัวเลือกระหว่างการถ่ายภาพต้นซากุระพร้อมพื้นหลังกับการถ่ายภาพระยะใกล้ของดอกซากุระเพียงดอกเดียว
ในกรณีนี้ เนื่องจากพื้นหลังของต้นซากุระคือทะเลสีฟ้าและท้องฟ้าสีครามที่เต็มไปด้วยเมฆ สีทั้งสองเข้ากันได้ดีกับดอกซากุระสีชมพู ทำให้เกิดการผสมผสานระหว่างสีฟ้าและสีชมพู แต่หากสมมติว่าก้อนเมฆมีสีค่อนข้างเทาและทะเลเป็นสีโคลน แทนที่จะทำแบบเดิม ฉันจะพยายามเติมเต็มจอภาพด้วยดอกซากุระเพียงดอกเดียว เพื่อให้สีชมพูเป็นสีหลักของฉากนี้
การมีความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับทฤษฎีสี เช่น รู้วิธีการทำงานของคู่สี ยังช่วยให้คุณจัดวางเฟรมตามสีให้กับฉากของคุณได้อีกด้วย
2. การจัดวางเฟรมให้กับวัตถุหลัก
เมื่อพูดถึงการจัดองค์ประกอบของภาพเพื่อสร้างจุดสนใจหลัก ฉันชอบที่จะมองหาบางอย่างที่ฉันสามารถใช้เป็นฉากหน้าแทนที่จะบันทึกภาพวัตถุในเฟรมตามปกติ
ในภาพหน้าจอด้านบน ฉันได้ถ่ายภาพสะพานซึ่งเป็นจุดสนใจหลักของภาพที่อยู่ด้านหลังโดยมีกิ่งซากุระล้อมรอบ เป็นการสร้าง “เฟรม” ให้กับภาพ การทำเช่นนี้ช่วยให้ภาพของฉันมีความลึกมากขึ้นและยังช่วยดึงสายตาของผู้ชมให้ไปโฟกัสที่สะพาน เฟรมแบบนี้สามารถเป็นอะไรก็ได้ที่อยู่ใกล้กับกล้องของคุณ แต่หลาย ๆ ครั้ง วิธีนี้อาจถูกนำมาใช้มากเกินไปจนดูเหมือนฝืนธรรมชาติ จะดีที่สุดหากคุณใช้อย่างระมัดระวัง
ดังนั้น นี่คือปัจจัยสำคัญที่ต้องพิจารณา
- วัตถุนั้นเข้ากันได้ดีกับสีของวัตถุหลักหรือไม่
- วัตถุนั้นเบี่ยงเบนความสนใจของผู้ชมออกจากวัตถุหลักหรือไม่
- ที่สำคัญกว่านั้น วัตถุนั้นเพิ่มมูลค่าให้กับเรื่องราวที่คุณเล่าในวิดีโอหรือไม่
ในกรณีของฉัน เนื่องจากธีมของวิดีโอของฉันคือ 'ความเบ่งบานของฤดูใบไม้ผลิริมทะเล’ การจัดวางเฟรมให้กับดอกซากุระช่วยเสริมจุดสนใจหลักของภาพ สื่อให้เห็นการมาถึงของฤดูใบไม้ผลิ
นอกจากนี้ ฉันยังชอบการถ่ายภาพจากหลากหลายมุม ซึ่งเป็นส่วนที่หน้าจอ LCD แบบปรับเอียงได้ของ Alpha 7C ช่วยให้ฉันถ่ายภาพในรูปแบบที่ฉันต้องการได้เป็นอย่างมาก
นอกจากนี้ ตารางกริดที่ใช้กฎสามส่วน (Rule of Thirds) ในกล้อง Alpha 7C ช่วยให้ฉันสามารถจัดวางจุดสนใจหลักของภาพไว้ที่จุดกึ่งกลางหรือที่จุดตัดของเส้น ทำให้ภาพมีความสมดุลมากขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติและยังช่วยดึงสายตาของผู้ชมไปที่จุดสนใจหลักของภาพด้วย ฉันมักจะเปิดใช้งานตารางกริดที่ใช้กฎสามส่วนเพื่อช่วยในการจัดวางเฟรมได้ง่ายขึ้น
3. การสื่อความหมายด้วยมาตราส่วน
การใส่มาตราส่วนให้กับฉากสามารถทำได้ง่ายพอ ๆ กับการใส่วัตถุที่มีขนาดแตกต่างกันไว้ในเฟรมเดียว วิธีที่ฉันชอบมากที่สุดในการสื่อความหมายด้วยมาตราส่วนก็คือ การถ่ายรูปตัวเองจากระยะไกล ทำให้ฉันดูเป็นคนตัวเล็กจิ๋วในโลกใบใหญ่
การทำเช่นนั้นจะช่วยสร้างช็อตเปิดฉากให้ผู้ชมมองเห็นภาพได้ดีขึ้นว่าสถานที่นั้นกว้างใหญ่แค่ไหน
วิธีนี้ยังใช้ได้ดีกับการถ่ายภาพฝูงชน เป็นการแสดงให้ผู้ชมเห็นบรรยากาศของสถานที่โดยไม่ต้องแสดงใบหน้าของบุคคลในเฟรม เนื่องจากใบหน้าเหล่านั้นไม่สามารถมองเห็นได้จากระยะไกลขนาดนั้น
เกี่ยวกับการไล่ระดับสี
สำหรับฉันแล้ว เมื่อเราจัดวางเฟรมสำหรับโทนสีและให้ความสนใจกับการจัดวางองค์ประกอบของภาพ ถือว่าเราได้ทำงานสำเร็จไปแล้ว 80% 20% ที่เหลือก็เป็นหน้าที่ของการไล่ระดับสี
ฉันมองว่าการไล่ระดับสีเป็นเครื่องมือที่ทรงพลังในการกำหนดสไตล์และร้อยเรียงวิดีโอของคุณทั้งหมดเข้าด้วยกันในตอนสุดท้าย ซึ่งเป็น “สูตรลับ” สำหรับสไตล์การถ่ายทำของคุณ ฉันชอบไล่ระดับสีให้กับวิดีโอของฉันเพื่อสร้างความรู้สึกที่สดใสชวนฝัน เพราะสไตล์นี้เหมาะมากสำหรับสิ่งที่ฉันถ่าย
เพื่อให้ได้โทนที่สดใสชวนฝันนั้น ฉันมักจะปรับสีให้ค่อนข้างมีความพาสเทล แต่ยังคงให้สีหลักเป็นสีที่มีความโดดเด่นมีชีวิตชีวา กุญแจสำคัญก็คือ การไม่ให้สีของภาพมีความอิ่มตัวเกินไป
ฉันถ่ายวิดีโอทั้งหมดด้วย Picture Profile แบบ S-Log2 ซึ่งทำให้ฉันมีความยืดหยุ่นมากพอในการไล่ระดับสีในกระบวนการตัดต่อ ฉันพบว่าวิธีนี้ใช้ได้ดีกับศาสตร์แห่งสีที่อัปเดตใหม่ล่าสุดของ Alpha 7C ทำให้ฉันมีสีสันที่สดใสเพื่อใช้เป็นเบส จากประสบการณ์ กล้อง Alpha 7C ใช้งานกับโปรไฟล์สีแบบ S-Log 2 ได้ดีกว่ากล้องของฉันอีกตัวหนึ่งซึ่งก็คือ Alpha 7 III ฉันมี LUT (Lookup Table) ของตัวเอง บ่อยครั้งที่ฉันต้องใช้เวลาพอสมควรในการปรับแต่งเพื่อให้ได้การไล่ระดับสีที่นุ่มนวลขึ้น อย่างไรก็ตาม ฉันสังเกตเห็นว่าการไล่ระดับสีสามารถทำได้ง่ายกว่ามากบนกล้อง Alpha 7C ซึ่งช่วยเร่งกระบวนการไล่ระดับสีของฉันให้เร็วขึ้นได้เป็นอย่างมาก
การใช้ความรู้ใหม่ของคุณ
แม้ว่าการไล่ระดับสี การทำความเข้าใจเกี่ยวกับการผสมสี และการจัดองค์ประกอบของภาพอาจเป็นเรื่องท้าทายในช่วงแรก แต่คุณจะพบว่าสิ่งเหล่านี้สามารถช่วยให้วิดีโอของคุณน่าประทับใจมากยิ่งขึ้นเมื่อคุณนำเทคนิคเหล่านี้มาใช้ เพื่อเป็นการฝึกฝน คุณสามารถลองถ่ายวิดีโอจำนวนสามวิดีโอ โดยให้นำแนวคิดเกี่ยวกับสีและการจัดองค์ประกอบสามข้อที่ฉันแชร์มาใช้วิดีโอละหนึ่งแนวคิด แนวคิดเหล่านั้นประกอบด้วย “การจัดวางเฟรมตามสี”, “การจัดวางเฟรมให้กับวัตถุหลัก” และ “การสื่อความหมายด้วยมาตราส่วน” ขอให้สนุกนะ!