การตั้งค่ากล้องที่คุณต้องปรับ
ไม่ว่าคุณจะเป็นมือสมัครเล่น เป็นคนรักการถ่ายภาพ หรือแม้แต่เป็นมืออาชีพผู้มากประสบการณ์ คุณจะพบว่ากล้อง Alpha นั้นมาพร้อมกับการตั้งค่าหลากหลายอย่างที่จะช่วยคุณบันทึกภาพถ่ายที่สมบูรณ์แบบ บางครั้ง จำนวนตัวเลือกที่มีอยู่มากมายก็อาจทำให้คุณรู้สึกหวั่นใจได้ ในบทความนี้ เราได้รวบรวมการตั้งค่ากล้องที่สำคัญที่สุดในความคิดเห็นของชุมชนผู้ใช้งานว่าต้องปรับค่าทันทีหลังจากที่ได้แกะกล่อง
รายการการตั้งค่าที่จำเป็นต้องปรับนี้ไม่ได้จำกัดการใช้งานกับกล้อง Alpha ใหม่ ๆ เท่านั้นแต่ยังครอบคลุมไปถึงกล้องรุ่นเก่า ๆ ด้วยเช่นกัน การตั้งค่าเหล่านี้สามารถใช้งานได้กับการถ่ายภาพหลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่การถ่ายภาพบุคคลไปจนถึงการถ่ายภาพสตรีท รวมทั้งการถ่ายภาพธรรมชาติ
1. ตัดสินใจเลือกการตั้งค่าคุณภาพของภาพ ว่าเป็น RAW, JPEG หรือทั้งคู่
เวลาเริ่มใช้งานกล่องใหม่ การไม่ลืมเปลี่ยนการตั้งค่าคุณภาพรูปถือเป็นเรื่องสำคัญ โดยค่าเริ่มต้น กล้องจะตั้งค่ามาให้บันทึกภาพในรูปแบบ JPEG การตั้งค่านี้ใช้การได้ดีหากคุณต้องการบันทึกภาพให้ได้จำนวนมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ในการ์ดหน่วยความจำ ทว่า หากคุณต้องการการควบคุมที่มากขึ้นในการปรับแต่งภาพหลังการถ่าย เราขอแนะนำให้คุณถ่ายในรูปแบบ RAW การตั้งค่านี้ถูกมองข้ามได้ง่าย นอกจากนี้คุณยังสามารถตั้งค่าเป็น RAW & JPEG เพื่อสร้างไฟล์รูปภาพสองไฟล์ ภาพหนึ่งสำหรับดูและอีกภาพสำหรับปรับแต่ง
สำหรับผู้ที่ยังไม่รู้จัก ภาพ RAW เป็นไฟล์ที่ยังไม่ประมวลผลซึ่งเปิดโอกาสให้ช่างภาพสามารถปรับแต่งภาพได้ตามต้องการมากขึ้น
2. ยืนยันการตั้งค่า EV ที่ต้องการ
สำหรับผู้ที่เชี่ยวชาญเรื่องการถ่ายภาพคงทราบดีว่าการตั้งค่าการรับแสงถือเป็นหนึ่งในการตั้งค่าสำคัญที่สุดที่คุณต้องรู้เมื่อจะเริ่มใช้งานกล้อง ค่าการรับแสงถือเป็นวิธีง่าย ๆ ในการเพิ่มหรือลดความสว่างเพิ่มเติมนอกเหนือจากที่กล้องคำนวณให้โดยอัตโนมัติ ค่าการชดเชยแสงนั้นจะแสดงเป็นสัญลักษณ์บวกหรือลบโดยขึ้นอยู่กับว่าภาพของคุณมีการรับแสงมากหรือน้อยกว่าปกติ
กล้องบางรุ่นอาจจะมีแป้นหมุนสำหรับควบคุมค่าการรับแสงโดยเฉพาะ ช่วยให้สามารถควบคุมความมืดหรือสว่างของภาพที่คุณต้องการได้สะดวก บางครั้งค่านี้อาจเป็นผลจากการตั้งค่าก่อนหน้าที่ถูกปรับกลับให้เป็นศูนย์ ดังนั้น คอยสังเกตแป้นหมุนนี้ไว้ให้ดีและปรับให้เป็นศูนย์ไว้ก่อนเพื่อการรับแสงที่มีประสิทธิภาพสูงสุด จากนั้นจึงปรับเพิ่มเติมตามความชอบของคุณ
3. ตัดสินใจว่าโหมดการวัดแสงใดที่ดีที่สุดสำหรับคุณ
เมื่อพูดถึงการวัดค่าการรับแสง โหมดการวัดแสงถือเป็นหนึ่งในไม่กี่วิธีที่กล้องของคุณใช้ประเมินการตั้งค่าการรับแสงที่ดีที่สุด การตั้งค่าที่พบบ่อยที่สุดสามแบบได้แก่ แบบหลายจุด แบบกลางภาพ และแบบจุดเดียว ซึ่งเราจะอธิบายความแตกต่างโดยละเอียดไว้ในบทความนี้ <ลิงก์สู่บทความโหมดการวัดแสง>
โดยทั่วไปแล้ว การวัดแสงแบบหลายจุดนั้นจะเป็นการตั้งค่าเริ่มต้นของกล้องส่วนใหญ่ สิ่งที่เกิดขึ้นคือ กล้องจะวิเคราะห์ภาพทั้งภาพแล้วประเมินหาค่าการรับแสงที่เหมาะสมเอง คุณสามารถปล่อยการตั้งค่านี้ไว้แบบนี้ได้
แต่บางครั้ง การใช้ภาพทั้งเฟรมในการประเมินหาค่าการวัดแสงก็อาจไม่ใช่แนวทางที่ดีที่สุด ในเวลาแบบนี้ การวัดแสงแบบกลางภาพจะเน้นการประเมินจากกลางภาพและอ้างอิงพื้นที่รอบนอกอีกเล็กน้อยในการประเมินหาค่าการรับแสงที่เหมาะสม การตั้งค่านี้เหมาะเป็นอย่างยิ่งเมื่อตัวแบบของคุณมีแสงส่องจากด้านหลังหรือกำลังถ่ายภาพบุคคลในระยะใกล้
ท้ายที่สุด การวัดแสงแบบจุดเดียวจะช่วยให้คุณกำหนดตำแหน่งกรอบสี่เหลี่ยมในจุดใดก็ได้ของภาพ ซึ่งจะช่วยให้กล้องประเมินการตั้งค่าการรับแสงจากพื้นที่ตรงนั้นโดยเฉพาะ โหมดการวัดแสงแบบนี้เหมาะที่สุดสำหรับตัวแบบที่มีแสงส่องจากด้านหลังและใช้พื้นที่ในเฟรมภาพไม่มาก ตัวอย่างที่ดีคงเป็นการถ่ายภาพไฟในเมือง ซึ่งใช้พื้นที่ในภาพไม่มากและการวัดแสงแบบจุดเดียวจะดูระดับแสงที่มาจากบริเวณรอบดวงจันทร์เท่านั้นโดยไม่สนใจส่วนอื่น ๆ ในเฟรม
4. สังเกตระดับความสว่างจอของคุณ
กล้องของคุณมีการตั้งค่าที่จะช่วยเพิ่มหรือลดความสว่างของหน้าจอแสดงผลในระหว่างการถ่ายภาพได้ แต่คุณควรระมัดระวังในการปรับการตั้งค่านี้ การเพิ่มความสว่างหน้าจอจะเพิ่มสีสันของรูปของคุณให้ดูเกินจริง และอาจทำให้คุณว่าคุณเปิดรับแสงเพียงพอแล้วได้ ซึ่งมักนำไปสู่ภาพที่รับแสงน้อยเกินไป ซึ่งคุณจะมาทราบเมื่อมาเปิดดูกับหน้าจอ LCD ที่ผ่านการปรับเทียบสีแล้วในที่ร่ม ให้คุณสนใจกับการวัดแสงหรือกราฟฮิสโตแกรมที่ด้านล่างของหน้าจอเพื่อความแน่ใจว่าภาพของคุณจะไม่รับแสงมากหรือน้อยจนเกินไป!
5. เปิดใช้ฟังก์ชัน Touch Tracking (ติดตามโดยแตะจอ)
ฟังก์ชัน Touch Tracking ช่วยให้คุณสามารถติดตามวัตถุที่เคลื่อนที่ได้แม่นยำยิ่งขึ้นเพียงปลายนิ้วสัมผัส ในการใช้งาน คุณจะต้องเปิดใช้งาน ‘Touch operations’ (ระบบสัมผัส) จากนั้นไปที่ ‘Funct. of touch operations’ (ฟังก์ชันของระบบสัมผัส) แล้วตั้งค่าเป็น ‘Touch tracking’ (ติดตามโดยแตะจอ)
6. ฟอร์แมตการ์ดของคุณในกล้อง
สมมติว่าคุณตัดสินใจแล้วที่จะใช้การ์ด SD จากกล่องที่คุณมีเก็บรวบรวมมาไว้เป็นเวลานาน ถึงแม้ว่าการเสียบการ์ดเข้ากับกล้องแล้วเริ่มต้นถ่ายภาพเลยอาจดูดึงดูดใจให้ทำ แต่คุณควรฟอร์แมตการ์ดเสียก่อน ปัจจุบันนอกจากคุณจะสามารถฟอร์แมตการ์ดได้สะดวกจากภายในกล้องแล้ว แต่สิ่งนี้ยังเป็นแนวปฏิบัติที่ดีที่จะฟอร์แมตการ์ดในกล้องเพื่อประกันการทำงานที่เสถียรของการ์ดหน่วยความจำในการรองรับรูปแบบไฟล์ของกล้อง อย่าลืมสำรองข้อมูลรูปถ่ายและวิดีโอไว้ในคอมพิวเตอร์ หน่วยเก็บความจำภายนอก หรือคลาวด์ก่อนที่จะฟอร์แมตกล้องใหม่อีกครั้ง
7. ใช้ประโยชน์ปุ่มตั้งค่าเองให้สูงที่สุด
กล้อง Alpha เปิดโอกาสให้คุณเปลี่ยนการกำหนดฟังก์ชันต่าง ๆ ให้กับปุ่มต่าง ๆ ได้ ตัวอย่างที่พบบ่อยที่สุดคือ การเปลี่ยนปุ่มโฟกัส โดยปกติ ปุ่มชัตเตอร์และปุ่มโฟกัสจะเป็นปุ่มเดียวกัน แต่บางครั้ง โฟกัสอาจจะเปลี่ยนไปโดยไม่ตั้งใจระหว่างที่คุณกำลังถ่ายภาพ นั่นเป็นเหตุผลที่ทำไมคนจำนวนมากจึงเปลี่ยนการโฟกัสไปที่ปุ่มแยกต่างหาก ซึ่งเรียกว่าการโฟกัสจากปุ่มหลังกล้อง
ในการกำหนดปุ่มเอง ไปที่ เมนู (การตั้งค่า) → [การปรับแต่งการทำงาน] → [Custom Key] → การตั้งค่าปุ่ม/แป้นหมุนกำหนดเอง]
เราขอแนะนำให้คุณตั้งค่าปุ่มแบบกำหนดเองของคุณเป็นการตั้งค่าที่ใช้บ่อยที่สุดและทั้งหมดขะขึ้นอยู๋กับสไตล์การถ่ายภาพของคุณ หากต้องการอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับปุ่มแบบกำหนดเอง คลิกที่นี่ <ลิงก์ไปยังบทความปุ่มแบบกำหนดเอง>
ตอนนี้ ในเมื่อคุณรู้การตั้งค่าสำคัญหมดที่ต้องปรับทั้งหมดเมื่อได้กล้องมาแล้ว อย่าลืมสำรวจเพื่อทำความรู้จักกับการตั้งค่าใหม่ ๆ ที่จะเหมาะกับความต้องการของคุณให้มากขึ้นด้วย ขอให้มีความสุขกับการถ่ายภาพ!