พลังของการถ่ายภาพในแนวหน้า
คาบสมุทรเกาหลีและเรื่องราวต่างๆ ของผู้คนทั้งสองฝั่งในเขตปลอดทหารเป็นประเด็นที่น่าสนใจสำหรับนักข่าวช่างภาพอย่างเดวิด กัตเทนเฟลเดอร์เป็นเวลาเกือบ 20 ปี สถานที่แห่งนี้มีความพิเศษกับเดวิดตั้งแต่ที่เขาย่างเท้าเข้ามาที่นี่ “ผมเดินทางไปเกาหลีใต้ครั้งแรกในปี 2000 และเป็นครั้งแรกที่ผมได้ไปที่คาบสมุทรเกาหลี ผมไปทำข่าวการกลับมาพบกันอีกครั้งของสมาชิกครอบครัวที่แยกจากกันเป็นเวลา 50 ปีนับตั้งแต่มีการก่อตั้งเขตปลอดทหาร ผมดูเหตุการณ์นี้เป็นเวลาสามวัน มันช่างน่าเศร้าและสะเทือนใจที่เห็นผู้คนกลับมาเจอกันอีกครั้ง คุณแม่ใช้มือสัมผัสใบหน้าของลูกชายเพื่อพยายามจดจำลูกที่ไม่ได้เจอหน้ากันห้าทศวรรษ จากนั้นคุณแม่และลูกต้องแยกจากกันอีกครั้งเพื่อกลับไปยังฝั่งของตัวเองนอกเขตปลอดทหาร ช่างเป็นเรื่องน่าสะเทือนใจมากที่ได้เห็นเหตุการณ์นี้ จึงทำให้ผมเริ่มหลงใหลในการทำงานที่นั่น”
มีการรายงานข่าวเกี่ยวกับท่านผู้นำในเปียงยางอยู่เป็นประจำ และบางครั้งก็ใช้ถ้อยคำชวนโมโห ผู้เชี่ยวชาญอธิบายความเป็นไปได้ของสงครามที่ทั่วโลกให้ความสนใจอย่างต่อเนื่อง บรรดาพาดหัวข่าวต่างๆ หันเหความสนใจจากเรื่องราวของผู้คนที่ใช้ชีวิตอยู่ที่นั่น
ไม่มีที่สถานที่ใดโดดเด่นไปกว่าบรรดาหมู่เกาะเล็กๆ ในทะเลเหลือง ซึ่งเป็นแนวหน้าที่ตั้งอยู่บริเวณแนวชายแดนทางทะเลระหว่างสองประเทศเกาหลีอย่างแท้จริง ด้วยความช่วยเหลือจากโซนี่ กัตเทนเฟลเดอร์จึงได้ไปที่นั่นเพื่อนำเสนอความจริงที่เกิดขึ้นกับผู้คนทั่วไปที่ใช้ชีวิตอยู่ที่นั่น โดยมีสาเหตุจากความขัดแย้งทางการเมือง
“ผมอยู่ในเอเชียในปี 2010 ในเหตุการณ์โจมตีที่เกาะยอนพยอง ผมไปที่เกาะนั้นในฐานะช่างภาพข่าวเพื่อรายงานสถานการณ์เกี่ยวกับการโจมตี” กัตเทนเฟลเดอร์พูด “จากเหตุการณ์ครั้งนั้น ผมตั้งใจอยากจะกลับไปเพื่อดูสิ่งที่เกิดขึ้นบนเกาะและผู้คนที่นั่น มันเป็นสถานที่ที่แปลกมากๆ พวกเขาใช้ชีวิตอยู่ติดกับชายแดนทางทะเลที่มองไม่เห็นเส้นแบ่งเขต ซึ่งแยกเกาหลีเหนือและใต้ออกจากกันในทะเลเหลือง น้อยคนนักที่จะรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ น่าแปลกที่คนทั่วโลกเอาแต่พูดถึงคาบสมุทรเกาหลีในเรื่องการทดสอบขีปนาวุธ หรือกีฬาโอลิมปิค หรือสิ่งที่สหรัฐอเมริกาโต้ตอบกับการกระทำที่มาจากเปียงยาง ซึ่งจริงๆ แล้วไม่มีใครรู้เกี่ยวกับผู้คนที่อยู่บนเกาะเหล่านี้เลย ทั้งๆ ที่พวกเขาเป็นผู้ที่อยู่ใกล้กับเรื่องที่เกิดขึ้นทั้งหมดมากที่สุด”
ผู้เสียชีวิตในข่าวต่างๆ รอบโลกเป็นแหล่งข่าวสำหรับการรายงานเชิงลึกในระยะยาว “เป็นเรื่องที่ยากมากสำหรับช่างภาพ โดยเฉพาะช่างภาพสารคดีที่กำลังทำงานระยะยาวเพื่อหาทางประคองอาชีพของตัวเอง” กัตเทนเฟลเดอร์กล่าว “ถ้าไม่นับงานเล็กๆ ที่เราทำ ผมคิดว่าเราเกือบทุกคนล้วนมีงานที่เป็นงานตลอดชีวิตของตัวเอง ใช่แล้ว มันเป็นเรื่องยากที่ต้องคอยประคองงานนั้นๆ อยู่ตลอด ผมรู้สึกว่านี่เป็นโอกาสที่จะได้ทำงานที่ผมทำมาตลอด 18 ปีครั้งแล้วครั้งเล่า และตอนนี้ก็ผมสามารถทำต่อไปได้”
เขาพูดต่อว่า “คาบสมุทรเกาหลีเป็นสถานที่ที่สำคัญมากในการทดสอบพลังการของถ่ายภาพ ภาพที่ถ่ายออกมาต้องสื่อให้ผู้คนรู้สึกเห็นอกเห็นใจกัน และสร้างสายสัมพันธ์ระหว่างคนที่ไม่รู้อะไรเลยเกี่ยวกับคนอีกคนหนึ่ง”
เดวิด กัตเทนเฟลเดอร์ใช้เวลากว่า 20 ปีในฐานะนักข่าวช่างภาพและช่างภาพสารคดีในไนโรบี อาบิดจัน นิวเดลี เยรูซาเลม และโตเกียว ซึ่งครอบคลุมเหตุการณ์ทั่วโลกเกือบ 100 ประเทศ ในปี 2011 เขาช่วยเปิดสำนักข่าวแอสโซซิเอทเต็ด เพรส ในเปียงยาง ซึ่งเป็นสำนักข่าวตะวันตกแห่งแรกที่มีสำนักงานในเกาหลีเหนือ กัตเทนเฟลเดอร์เดินทางไปยังประเทศปิดแห่งนี้เกือบ 40 ครั้ง
คุณสามารถชมการแสดงภาพถ่ายจากงานของเดวิดได้ที่เดอะ โฟโต้ โซไซตี แกลเลอรี ณ โซนี่ สแควร์ เอ็นวายซี ตั้งแต่วันที่ 14 กุมภาพันธ์ - 8 มีนาคม
บทความนี้ได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรกใน alphauniverse.com